วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เว็ปบล็อกของเพื่อนๆ

จริยา ฉิมเพชร์     (สรรพคุณของใบบัวบก)
ปภาวรินทร์ คูณศรัทธา (สรรพคุณของว่านห่างจระเข้)
วาณิชยา เพชรเอี๊ยะ (หอมหัวใหญ่)
ยุภาวรรณ แม่นรัตน์ (ถั่วเหลือง)
อิทธิวัฒน์ ประเสริฐโชคประชา (ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ)

โปรดคลิกเพื่อรับชมวีดีทัศน์ด้านล่าง



สรรพคุณจากกล้วยน้ำว้า 4 วัย





กล้วยน้ำว้า




กล้วยน้ำว้า (Cultivated banana) เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาด
          กล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ กล้วยอ่อง เดิมจัดเป็นชนิด Musa sapientum L. 

 ลักษณะของกล้วยน้ำว้า

           กล้วย เป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูง ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินรูปร่างกลมมีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ก้านใบยาวมองเห็นชัดเจน ดอกออกที่ปลายช่อ ลักษณะห้อยหัวลงยาว 1-2 ศอก เรียกว่า ปลี มีดอกย่อยออกเป็นแผง ผลจะติดกันเป็นแผง เรียกว่า หวี เรียงซ้อนกันหลายๆ หวี เรียกว่า เครือ

การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำว้า

 
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้หน่อ
  • กล้วยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)

ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า

1. กล้วยน้ำว้าสุก

          กล้วยน้ำว้าสุก นำมารับประทานเป็นผลไม้
          นำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญบ้าน พิธีเข้าพาขวัญ/สู่ขวัญ เป็นต้น
          กล้วยดิบหรือกล้วยห่าม นำมาปอกเปลือก และนำผลไปตากแห้ง แล้วบดเป็นผงกล้วยสำหรับใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมหวาน

2. กล้วยน้ำว้าดิบ

          นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ ทอด และโรยน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม
          ผลกล้วยน้ำว้าดิบนำมาปอกเปลือก หั่นผลบางๆ แล้วนำมาตำรวมกับมะยม

3. ลำต้นหรือหยวกกล้วยอ่อน

          นำมาปรุงอาการ เช่น หมกหยวกกล้วย แกงหยวกกล้วย เป็นต้น
          นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ ที่ส่วนมากนิยมใช้เลี้ยงสุกร

4. ปลีกล้วย

          ปลีกล้วย นำมาประกอบอาหาร เช่น ยำหัวปลี แกงหัวปลีใส่ปลา ห่อหมกหัวปลีใส่ไก่ เป็นต้น
          ผลอ่อนที่ได้จากการตัดปลีกล้วย ใช้จิ้มน้ำพริกหรือรับประทานสดเป้นเครื่องเคียง

5. ใบกล้วยหรือใบตอง

          นำมาห่ออาหารหรือห่อปรุงอาหาร เช่น ห่อหมกต่างๆ
          ใบกล้วยทีเหลือจากการตัดเครือหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาเป็นอาหารสัตว์ เช่น ใช้เลี้ยงสุกร และโค เป็นต้น
          ใบกล้วยใช้ทำเครื่องเล่นเด็ก
          ใบกล้วยใช้ทำเครื่องพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ใช้ทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือ ใช้ห่อกระทง เป็นต้น
          ใบกล้วยที่แห้งคาต้น คนโบราณหรือคนในชนบทนิยมในปัจจุบันนำมาใช้มวนยาสูบ

6. กาบกล้วย

          กาบกล้วยสด นำมาฉีกแบ่งเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับใช้แทนเชือกรัดของ

7. ก้านกล้วย

          ใช้ทำเครื่องเล่นให้แก่เด็ก เช่น ม้าก้านกล้วย

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า

  • น้ำ 75.7 กรัม
  • พลังงาน 85 แคลอรี่
  • โปรตีน 1.1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 22.2 กรัม
  •  เถ้า 0.8 กรัม
  • แคลเซียม (Ca) 8.0 กรัม
  • เหล็ก (Fe) 0.7 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม (K) 370 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม (Mg) 33 มิลิกรัม
  • วิตามินเอ 190 IU
  • วิตามินซี 10 มิลลิกรัม
  • ไทอามีน (Thiamine) 0.05 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) 0.06 มิลลิกรัม
  • ไนอาซีน (Niacin) 0.7 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้า

  •  กินกล้วยนํ้าว้าสุกวันละ 1-2 ผลหรือนำมาปอกเปลือกแช่นํ้าผึ้งไว้ 1 สัปดาห์กิน สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ถือเป็นยาอายุวัฒนะ เนื่องจากช่วยบำรุงสุขภาพ ทำให้อายุยืน ไม่เป็นโรคภัย

  • สำหรับผู้ที่เบื่อการกินข้าว สามารถกินกล้วยนํ้าว้าแทนได้บางมื้อ เพราะกล้วยนํ้าว้าเป็นผลไม้ให้พลังงานสูง โดยกล้วยนํ้าว้า 1 ผลจะให้พลังงาน 100 แคลอรี อีกทั้งยังมีนํ้าตาลธรรมชาติอีก 3 ชนิด คือ ฟรุกโตส ซูโครส และกลูโคส รวมถึงวิตามินต่างๆอีกด้วย แต่สำหรับผู้ที่กำลังควบคุมนํ้าหนักไม่ควรกินมากเกินไป

  • กินกล้วยนํ้าว้าสุกเป็นประจำ หรือนำผลดิบมาปอกเปลือกฝานเป็นแผ่นบางๆตากแดดให้แห้งสนิท บดเป็นผงละเอียดผสมนํ้าผึ้งเล็กน้อย กินครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนอาหารหรือก่อนนอน 30 นาทีทุกวัน จะช่วยบรรเทาอาการ Dyspepsia หรืออาการอาหารไม่ย่อยได้ เนื่องจากกล้วยนํ้าว้าช่วยลดกรดเกินในกระเพาะอาหาร

  • กลิ่นปากเหม็นๆในตอนเช้ากำจัดได้ด้วยการกินกล้วยนํ้าว้าสุกทักทีที่ตื่นนอน จากนั้นก็แปรงฟันตามปกติ จะช่วยลดกลิ่นปากได้

  • การให้เด็กๆกินกล้วยนํ้าว้าสุกเป็นประจำจะช่วยให้เด็กได้รับกรดอะมิโนฮีสติดิน (Histidine) และอาร์จีนิน (Arginine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างต่อเนื่อง

  • นำกล้วยนํ้าว้าดิบหรือห่ามมาปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นบางๆต้มกับนํ้า 30 นาที นำนํ้าที่ได้มาดื่มครั้งละครึ่งแก้วจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียแบบไม่รุนแรงได้

  • เปลือกด้านในกล้วยนํ้าว้า มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง นำเปลือกด้านในมาทาที่แผลแมลงสัตว์กัดต่อย จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือบวมแดงได้

  • กินกล้วยนํ้าว้าสุกวันละ 4 ผล ช่วยบรรเทาอาการเจ็บในลำคอ และเจ็บหน้าอกจากอาการไอแห้งๆได้

  • สารเพกติน (Pactin) ในกล้วยนํ้าว้าสุกช่วยบำรุงหัวใจ และเป็นเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์ (fiber) ที่ทำให้ลำไส้บีบรัดตัวได้ดีช่วยให้ขับถ่ายได้ง่าย

  • กินหัวปลีจากกล้วยนํ้าว้าช่วยบำรุงเลือด แก้อาการร้อนใน กระหายนํ้า บำรุงลำไส้ บรรเทาอาการโลหิตจาง เพราะหัวปลีอุดมด้วยธาตุเหล็ก อีกทั้งยังช่วยขับนํ้านมในคุณแม่ที่เพิ่งคลอดอีกด้วย

  • กินกล้วยนํ้าว้าเป็นประจำช่วยป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้
  •  รักษาอาการท้องเสีย ท้องร่วง ผู้ที่มีอาการท้องเสีย และท้องร่วง ควรทานกล้วยน้ำว้าที่ยังดิบ หรืออยู่ในช่วงห่าม เพื่อให้สารแทนนิน และสารเพคตินในกล้วยไปทำหน้าที่ในการรักษาอาการของโรค ควรทานเพียง 1/2 - 1 ผล ก็เพียงพอ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ให้ทานซ้ำอีกครั้ง        
  •  รักษาอาการเจ็บคอ ไอแห้ง ผู้ที่มีปัญหาไอ เจ็บคออย่างหนัก ทานยาเข้าไปอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ให้ทานกล้วยน้ำว้าวันละ 4-6 ลูก โดยที่จะแบ่งเป็นทานกี่ครั้งก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ทานครั้งเดียวเพราะอาจส่งผลให้เกิดการจุกเสียดและอาเจียน  
  • ลดความหยาบกร้านของผิวหนัง อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยกู้ผิวหยาบกร้านให้กลับมานุ่มและชุ่มชื่นได้อีกครั้งก็คือ การมาส์กผิวด้วยกล้วยน้ำว้า โดยนำกล้วยน้ำว้าสุกมาบดให้ละเอียด เติมน้ำผึ้งผสมเข้าไปประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ คลุกให้เข้ากัน นำไปพอกบริเวณผิวที่มีความหยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วจึงล้างออก แค่นี้ก็ช่วยให้ผิวกลับมานุ่มชุ่มชื้นได้แล้วแก้ผื่นคันจากยุงกัด หากมีผื่นคันจากการถูกยุงกัด แนะนำให้ใช้เปลือกกล้วยมารักษา โดยใช้ด้านในของเปลือกมาทาบริเวณที่ถูกยุงกัด สังเกตได้ว่าวิธีนี้จะค่อยๆ ทำให้อาการคันลดลงไปได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว 
                                                                  
ไอเดียการใช้กล้วยน้ำว้าเพื่อสุขภาพ    
1. แก้อาการนอนไม่หลับ
          กล้วยน้ำว้าไม่ได้มีดีแค่เฉพาะบำรุงร่างกายเพียงเท่านั้น หากแต่ยังมีส่วนช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยลดอาการหงุดหงิดที่อาจเกิดขึ้นในยามเช้าโดยไม่มีสาเหตุ ลดอาการหงุดหงิดในสตรีที่อยู่ในช่วงวันนั้นของเดือน รักษาโรคซึมเศร้า และช่วยลดความเครียดได้ เนื่องจากสารอาหารอย่างเช่นโปรตีนชนิดที่เรียกว่า ทริปโตเฟน ที่อยู่ในกล้วยมีส่วนช่วยในการผลิตสารเซโรโทนิน หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อฮอร์โมนแห่งความสุข และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทานกล้วยน้ำว้าแล้วจึงทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดีขึ้นได้

2. เป็นตัวช่วยในการเลิกบุหรี่         
           สำหรับใครที่กำลังอยู่ในช่วงเลิกบุหรี่ อีกหนึ่งวิธีที่อยากแนะนำก็คือ การทานกล้วยน้ำว้า เพราะการทานกล้วยน้ำว้า จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากมายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินบี12 โพแทสเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็วภายหลังจากการเลิกนิโคตินนั่นเอง

3. บรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร          
           หากกำลังเผชิญกับการขับถ่ายออกเลือดหรือเป็นโรคริดสีดวงทวาร ขอบอกเลยว่ากล้วยน้ำว้าช่วยคุณได้ เพราะกล้วยน้ำว้ามีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดอาการเสียดท้อง รวมถึงช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งเมื่อกินกล้วยน้ำว้าเข้าไปก็จะทำให้อาการดีขึ้นได้

4. รักษาโรคโลหิตจาง             
       เนื่องจากในกล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยธาตุเหล็กสูง จึงช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยในการรักษาภาวะโลหิตจาง รวมทั้งผู้ที่อยู่ในสภาวะที่ร่างกายขาดกำลัง

5. แก้อาการท้องเสีย           
    กล้วยน้ำว้าดิบจะให้รสชาติที่ฝาด ซึ่งมีฤทธิ์ในต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยกล้วยน้ำว้าดิบจะออกฤทธิ์สมานแผลและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อเมือกในกระเพาะ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยเร่งการแบ่งตัวของเซลล์เยื่อเมือกด้วยสารสำคัญอย่างเช่นสารซิโตอินโดไซด์ ดังนั้นหากมีอาการท้องเสียแนะนำให้ทานกล้วยน้ำว้าแบบดิบ จะช่วยแก้อาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

6. รักษาแผลในลำไส้         
     ในกล้วยน้ำว้าอุดมไปด้วยสารแทนนิน ซึ่งสารชนิดนี้มีส่วนช่วยรักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่รุนแรง และยังช่วยแก้อาการท้องผูกได้อีกด้วย ในส่วนของผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะอักเสบ ควรหมั่นทานกล้วยน้ำว้าเป็นประจำทุกวัน เพื่อช่วยรักษาแผลลำไส้ชนิดเรื้อรัง เพราะกล้วยน้ำว้านั้นมีสภาพเป็นกลางจึงไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหาร

7. ช่วยชะลอความแก่            
        เพราะสารต้านอนุมูลอิสระที่อุดมอยู่ในกล้วยน้ำว้านั้นมีส่วนช่วยชะลอความแก่ได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมบางคนอายุมากแล้ว แต่ยังแลดูอ่อนเยาว์ นั่นเพราะการทานกล้วยน้ำว้าเป็นประจำทุกวันนั่นเอง

8. ช่วยลดน้ำหนัก           
           กล้วยน้ำว้ามีส่วนช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงช่วยลดอาการอยากทานของจุบจิบอย่างได้ผล จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมทานกล้วยน้ำว้าแล้วน้ำหนักจึงลดลง ในขณะที่ไม่ได้ปล่อยให้ท้องหิวหรืออดอาหารแต่อย่างใด



 


   
อ้างอิง
  1. กระโดดขึ้น กรมส่งเสริมการเกษตรกระโดดขึ้น
  2. https://cooking.kapook.com
  3. กระโดดขึ้นพันธุ์กล้วยในประเทศไทย, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30
  4. กระโดดขึ้นเต็ม สมิตินันทน์  สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  5. กระโดดขึ้น

การแปรรูปจากกล้วยน้ำว้า

                                                            การแปรรูปจากกล้วยน้ำว้า               กล้วยน้ำว้าสุกใช้ทำเป็นขนม ของหวาน...